ชนิดของเปลวไฟเชื่อมแก๊ส
เปลวไฟเชื่อมออกซิอะเซทิลีน เป็นเปลวที่ให้อุณหภูมิสูงถึง 6,000° ฟ ความร้อนขนาดนี้สามารถที่จะหลอมโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้โดยง่าย จึงนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป เปลวของออกซิอะเซทิลีน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. เปลวแก่ไฮโดรคาร์บอน หรือเปลวคาร์บิวไรซิง (Carburizing Flame หรือ Reducing)
2. เปลวพอดี หรือเปลวกลาง (Neutral Flame หรือ Balanced)
3. เปลวแก่ออกซิเจน หรือเปลวออกซิไดซิง (Oxidizing Flame)
1. เปลวคาร์บิวไรซิง
เป็นเปลวที่เกิดขึ้นจากการจุดแก๊สอะเซทิลีน ในขณะเปิดออกซิเจนเข้าผสมก็จะได้เปลวคาร์บิวไรซิง เป็นเปลวที่มีแก๊สอะเซทิลีนมาก เปลวชั้นนอกมีลักษณะเป็นเปลวยาวสีส้มอ่อนล้อมรอบเปลวชั้นใน เปลวนี้มีความร้อนประมาณ 5,700° ฟ (3,150° ซ)
2. เปลวกลาง
เป็นเปลวที่ใช้ในการเชื่อมโลหะ ซึ่งประกอบด้วยเปลวไฟ 2 ชั้น ชั้นในเป็นกรวยมนที่มีสีขาวนวล และให้ความร้อนสูงประมาณ 6,000° ฟ (3,315° ซ)
3. เปลวออกซิไดซิง
เป็นเปลวที่มีออกซิเจนมาก มีเปลว 2 ชั้น เปลวชั้นในจะเป็นรูปกรวยแหลมจะมาร้อนประมาณ 6,300° ฟ (3,400° ซ)
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
Slidershow
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554
หลักการเชื่อมแก๊สอาร์กอน
การเชื่อมแก๊ส (GAS WELDING) คือ กรรมวิธีการเชื่อมโลหะแบบหลอมละลาย โดยได้ความร้อนจากการเผาไหม้ระหว่างแก๊สเชื้อเพลิงกับออกซิเจนหลอมละลายโลหะให้ติดกัน ด้วยการเติมลวดเชื่อม (FILLER METAL) หรือให้เนื้อของโลหะงานหลอมประสานกันเองโดยไม่ต้องเติมลวดเชื่อมก็ได้
แก๊สเชื้อเพลิงที่ใช้มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน การเลือกจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมทั้งราคา ปริมาณความร้อนที่ได้ และผลที่จะเกิดกับโลหะงานนั้น สำหรับแก๊สอะเซทิลีนนั้น เมื่อเผาไหม้กับออกซิเจน จะให้ความร้อนสูงสุดถึง 6,000° ฟ (3316° ซ) ซึ่งเหมาะแก่การเชื่อมเหล็กและโลหะผสมต่างๆ ซึ่งเรียกวิธีเชื่อมแบบนี้ว่า “OXYACETYLENE” และเป็นที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมการเชื่อมโดยทั่วไป สำหรับความร้อนที่ได้จากแก๊สเชื้อเพลิงแต่ละชนิดแตกต่างกัน ดังนี้
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
แก๊สเชื้อเพลิงที่ใช้มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน การเลือกจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมทั้งราคา ปริมาณความร้อนที่ได้ และผลที่จะเกิดกับโลหะงานนั้น สำหรับแก๊สอะเซทิลีนนั้น เมื่อเผาไหม้กับออกซิเจน จะให้ความร้อนสูงสุดถึง 6,000° ฟ (3316° ซ) ซึ่งเหมาะแก่การเชื่อมเหล็กและโลหะผสมต่างๆ ซึ่งเรียกวิธีเชื่อมแบบนี้ว่า “OXYACETYLENE” และเป็นที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมการเชื่อมโดยทั่วไป สำหรับความร้อนที่ได้จากแก๊สเชื้อเพลิงแต่ละชนิดแตกต่างกัน ดังนี้
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
ป้ายกำกับ:
การเชื่อมแก๊สอาร์กอน,
การเชื่อมอาร์กอน,
เครื่องเชื่อม TIG
วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554
ส่วนประกอบของหัวเชื่อม TIG
ในการเตรียมหัวเชื่อมประการแรกจะต้องเข้าใจหลักการทำงาน และวิธีเลือกใช้ส่วนประกอบของหัวเชื่อมได้ถูกต้อง ส่วนประกอบของหัวเชื่อม TIG มีดังนี้
1. ตัวทอร์ช (Torch Body) เป็นส่วนลำตัวของหัวเชื่อม ภายในทำด้วยทองแดงผสม พร้อมทั้งเป็นทางเดินของแก๊สปกคลุม, น้ำระบายความร้อนและกระแสเชื่อม ซึ่งหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนและกระแสไฟเชื่อมอย่างดี
2. ฝาครอบ (Cap) เป็นส่วนปลายสุดของหัวเชื่อม มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้แก๊สไหลออก และยังเป็นตัวป้องกันไม่ให้อากาศไหลเข้าไปปนกับแก๊สภายในหัวเชื่อม
3. วงแหวนยาง (O Ring) เป็นวงแหวนยางกลมที่ประกอบอยู่ที่โคนเกลียวของ Cap สำหรับป้องกันการรั่วของแก๊ส
4. Collet หรือ Electrode Collet เป็นตัวจับลวดเชื่อม ซึ่งกำหนดขนาดตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดทังสเตน
5. Collet Holder ยึดติดกับลำตัวหัวเชื่อมด้วยเกลียว Collet Holder ทำด้วยทองแดงผสม ทำหน้าที่บีบจับ Collet ให้จับลวดทังสเตนได้แน่น
6. Nozzle ที่ใช้ในการเชื่อม TIG มีอยู่หลายชนิดได้แก่ ชนิดกระเบื้อง (เซรามิก), โลหะ, แก้ว (Fused quartz) และชนิด Dual-Shield Nozzle, Nozzle ชนิดทำด้วย ceramic เป็นแบบที่นิยมใช้กันและราคาถูก แต่สำหรับ Nozzle โลหะที่ระบายความร้อนด้วยน้ำจะมีอายุการใช้งานนานกว่าแบบเซรามิก
7. ลวดเชื่อมทังสเตน (Tungsten Electrodes) ลวดเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อม TIG จะแตกต่างจากลวดเชื่อมอื่นๆ เนื่องจากลวดเชื่อมทังสเตน ซึ่งทำหน้าที่สำหรับการอาร์กเท่านั้น ไม่ได้เป็นลวดสำหรับเติมแนวเชื่อม
ทังสเตนมีจุดหลอมเหลวสูง ประมาณ 6170° ฟ (3410° ซ) จึงนิยมใช้ทำลวดเชื่อมชนิดไม่สิ้นเปลือง ซึ่งมีความบริสุทธิ์ประมาณ 99.5% ส่วนทังสเตนผสมนั้นจะประกอบด้วยธาตุผสมต่างๆ (thoria หรือ airconia)
การแบ่งประเภทของลวดเชื่อม TIG
ลวดเชื่อม TIG แบ่งออกเป็นประเภทตามส่วนผสมได้ดังนี้
1. ทังสเตนบริสุทธิ์ (Pure Tungsten) ใช้กับกระแสไฟ AC สำหรับการเชื่อมอะลูมิเนียม และแมกนีเซียมด้วยการแต่งปลายลวดกลม
2. ทอริเอทเต็ททังสเตน (Thoriated Tungsten) เป็นลวดทังสเตนที่ผสมทอเรีย (thoria) จนถึง 2.2% การใช้ไฟสลับกับลวดทอริเอทเต็ทนั้นจะทำให้การอาร์กไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นลวดชนิดนี้ต้องใช้กับไฟตรง ลวดเชื่อมที่ใช้กับไฟตรงต้องแต่งปลายให้เรียวแหลมจึงจะรักษารูปร่างอันนี้ไว้ได้ สำหรับลวดทังสเตนทอริเอทเต็ท ชนิด 2% มีโค๊ตเป็นสีแดง ส่วนชนิด 1% จะมีโค๊ตเป็นสีเหลือง
3. ลวด EWTH-3 เป็นลวดเชื่อมทังสเตนผสมอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รวมเอาข้อดีของลวดทังสเตนบริสุทธิ์กับลวดทังสเตนทอริเอทเต็ทเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมอะลูมิเนียมและแมกนีเซียมด้วยไฟกระแสสลับได้ดี และยังใช้เชื่อมด้วยไฟตรงได้ดีอีกด้วย แต่ไม่แนะนำให้แต่งปลายลวดเรียวแหลม โค๊ตสีเป็นสีน้ำเงิน
4. เซอร์โคเนียมทังสเตน (Zirconium Tungsten) เป็นลวดทังสเตนที่มีส่วนผสมของเซอร์โคเนียม 0.15 – 0.40% ซึ่งเหมาะแก่การเชื่อมด้วยกระแสไฟสลับ โค๊ตสีของลวดทังสเตนชนิดเซอร์โคเนทเป็นสีน้ำตาล
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
1. ตัวทอร์ช (Torch Body) เป็นส่วนลำตัวของหัวเชื่อม ภายในทำด้วยทองแดงผสม พร้อมทั้งเป็นทางเดินของแก๊สปกคลุม, น้ำระบายความร้อนและกระแสเชื่อม ซึ่งหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนและกระแสไฟเชื่อมอย่างดี
2. ฝาครอบ (Cap) เป็นส่วนปลายสุดของหัวเชื่อม มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้แก๊สไหลออก และยังเป็นตัวป้องกันไม่ให้อากาศไหลเข้าไปปนกับแก๊สภายในหัวเชื่อม
3. วงแหวนยาง (O Ring) เป็นวงแหวนยางกลมที่ประกอบอยู่ที่โคนเกลียวของ Cap สำหรับป้องกันการรั่วของแก๊ส
4. Collet หรือ Electrode Collet เป็นตัวจับลวดเชื่อม ซึ่งกำหนดขนาดตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดทังสเตน
5. Collet Holder ยึดติดกับลำตัวหัวเชื่อมด้วยเกลียว Collet Holder ทำด้วยทองแดงผสม ทำหน้าที่บีบจับ Collet ให้จับลวดทังสเตนได้แน่น
6. Nozzle ที่ใช้ในการเชื่อม TIG มีอยู่หลายชนิดได้แก่ ชนิดกระเบื้อง (เซรามิก), โลหะ, แก้ว (Fused quartz) และชนิด Dual-Shield Nozzle, Nozzle ชนิดทำด้วย ceramic เป็นแบบที่นิยมใช้กันและราคาถูก แต่สำหรับ Nozzle โลหะที่ระบายความร้อนด้วยน้ำจะมีอายุการใช้งานนานกว่าแบบเซรามิก
7. ลวดเชื่อมทังสเตน (Tungsten Electrodes) ลวดเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อม TIG จะแตกต่างจากลวดเชื่อมอื่นๆ เนื่องจากลวดเชื่อมทังสเตน ซึ่งทำหน้าที่สำหรับการอาร์กเท่านั้น ไม่ได้เป็นลวดสำหรับเติมแนวเชื่อม
ทังสเตนมีจุดหลอมเหลวสูง ประมาณ 6170° ฟ (3410° ซ) จึงนิยมใช้ทำลวดเชื่อมชนิดไม่สิ้นเปลือง ซึ่งมีความบริสุทธิ์ประมาณ 99.5% ส่วนทังสเตนผสมนั้นจะประกอบด้วยธาตุผสมต่างๆ (thoria หรือ airconia)
การแบ่งประเภทของลวดเชื่อม TIG
ลวดเชื่อม TIG แบ่งออกเป็นประเภทตามส่วนผสมได้ดังนี้
1. ทังสเตนบริสุทธิ์ (Pure Tungsten) ใช้กับกระแสไฟ AC สำหรับการเชื่อมอะลูมิเนียม และแมกนีเซียมด้วยการแต่งปลายลวดกลม
2. ทอริเอทเต็ททังสเตน (Thoriated Tungsten) เป็นลวดทังสเตนที่ผสมทอเรีย (thoria) จนถึง 2.2% การใช้ไฟสลับกับลวดทอริเอทเต็ทนั้นจะทำให้การอาร์กไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นลวดชนิดนี้ต้องใช้กับไฟตรง ลวดเชื่อมที่ใช้กับไฟตรงต้องแต่งปลายให้เรียวแหลมจึงจะรักษารูปร่างอันนี้ไว้ได้ สำหรับลวดทังสเตนทอริเอทเต็ท ชนิด 2% มีโค๊ตเป็นสีแดง ส่วนชนิด 1% จะมีโค๊ตเป็นสีเหลือง
3. ลวด EWTH-3 เป็นลวดเชื่อมทังสเตนผสมอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รวมเอาข้อดีของลวดทังสเตนบริสุทธิ์กับลวดทังสเตนทอริเอทเต็ทเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมอะลูมิเนียมและแมกนีเซียมด้วยไฟกระแสสลับได้ดี และยังใช้เชื่อมด้วยไฟตรงได้ดีอีกด้วย แต่ไม่แนะนำให้แต่งปลายลวดเรียวแหลม โค๊ตสีเป็นสีน้ำเงิน
4. เซอร์โคเนียมทังสเตน (Zirconium Tungsten) เป็นลวดทังสเตนที่มีส่วนผสมของเซอร์โคเนียม 0.15 – 0.40% ซึ่งเหมาะแก่การเชื่อมด้วยกระแสไฟสลับ โค๊ตสีของลวดทังสเตนชนิดเซอร์โคเนทเป็นสีน้ำตาล
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
ป้ายกำกับ:
เครื่องเชื่อม,
เครื่องเชื่อมอาร์กอน,
เครื่องเชื่อม TIG
วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
หัวเชื่อมอาร์กอน มีส่วนประกอบของอะไรบ้าง และมีกี่ประเภท
หัวเชื่อมสำหรับการเชื่อม TIG ควรจะมีความแข็งแรง, กะทัดรัด, เบาและหุ้มด้วยฉนวนที่ดี หน้าที่ของหัวเชื่อมที่สำคัญ ได้แก่
1. เป็นที่จับถือขณะเชื่อม
2. เป็นทางผ่านและบังคับแก๊สปกคลุมเพื่อให้ปกคลุมบริเวณอาร์ก
3. นำกระแสไฟเชื่อมสู่บริเวณอาร์ก
4. เป็นทางผ่านเพื่อให้น้ำระบายความร้อนออกจากอุปกรณ์ที่อยู่ภายในหัวเชื่อม
5. เป็นตัวจับลวดทังสเตน
หัวเชื่อมจะประกอบด้วย สายเชื่อม, สายยางและข้อต่อสำหรับต่อหัวเชื่อมเข้ากับเครื่องเชื่อม, แก๊ส ปกคลุมและน้ำระบายความร้อน, สำหรับหัวเชื่อม TIG ชนิดที่ควบคุมการเชื่อมด้วยมือ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air-Cooled)
2. ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water-Cooled)
หัวเชื่อม TIG มีหลายขนาดตั้งแต่น้ำหนัก 3 ออนซ์จนถึงจนขนาด 1 ปอนด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระแสเชื่อม, ลวดเชื่อมและ Nozzle ส่วนรูปร่างจะแตกต่างกันตามบริษัทผู้ผลิต แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีทั้งแบบ หัวเชื่อมเป็นมุมและหัวตรง โดยทั่วไปนิยมใช้หัวเอียง ซึ่งลวดเชื่อมจะเอียงทำมุม 120° กับมือจับ อาจจะเป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำหรืออากาศก็ได้ ส่วนแบบหัวตรงนั้นลวดเชื่อมจะอยู่ในแนวเดียวกับมือจับ และหัวเชื่อม บางอันจะมีสวิตซ์ไฟฟ้า เพื่อควบคุมการไหลของแก๊สปกคลุม โดยการบังคับด้วยมือ
หัวเชื่อมชนิด Air Cooled นั้น ที่จริงแล้วระบายความร้อนด้วยแก๊สปกคลุม สำหรับอากาศที่ระบาย ความร้อนออกจะเป็นอากาศที่อยู่โดยรอบหัวเชื่อม ซึ่งจะระบายความร้อนออกได้น้อยมาก หัวเชื่อมชนิดนี้น้ำหนักเบา, ขนาดกะทัดรัด และราคาถูกกว่าแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ส่วนมากใช้กับกระแสเชื่อมไม่เกิน 150 แอมป์ ซึ่งใช้ในการเชื่อมโลหะบางและ Duty Cycle ต่ำ ลวดเชื่อมทังสเตนที่ใช้กับหัวเชื่อมแบบ Air Cooled จะมีความร้อนมากกว่าลวดที่ใช้กับหัวเชื่อมชนิด Water Cooled โดยเฉพาะถ้าใช้ลวดทังสเตนบริสุทธิ์แล้วจะทำให้อนุภาคของทังสเตนจากลวดเชื่อมเติมลงในบ่อหลอมละลายของแนวเชื่อมได้เมื่อเชื่อมด้วยกระแสสูง
หัวเชื่อมชนิด Water Cooled (สายเชื่อมชนิดน้ำ) มีสายต่ออยู่ 3 เส้นคือ
1. สายเชื่อม เป็นสายเคเบิลทองแดงที่หุ้มด้วยยาง และยังทำหน้าที่เป็นท่อน้ำทิ้งของน้ำระบายความร้อน สายเคเบิลทองแดงจะมีขนาดเล็กกว่าสายเชื่อมธรรมดา เมื่อใช้กระแสไฟที่เท่ากัน
2. ทางเข้าของน้ำระบายความร้อน เป็นสายยางกลวงที่ต่อออกจาก Solenoid valve ของน้ำหล่อเย็นไปยังหัวเชื่อม
3. ทางเข้าของแก๊สปกคลุม เป็นสายยางกลวงที่ต่อจาก Solenoid valve แก๊สปกคลุมไปยังตัวเชื่อม
1. เป็นที่จับถือขณะเชื่อม
2. เป็นทางผ่านและบังคับแก๊สปกคลุมเพื่อให้ปกคลุมบริเวณอาร์ก
3. นำกระแสไฟเชื่อมสู่บริเวณอาร์ก
4. เป็นทางผ่านเพื่อให้น้ำระบายความร้อนออกจากอุปกรณ์ที่อยู่ภายในหัวเชื่อม
5. เป็นตัวจับลวดทังสเตน
หัวเชื่อมจะประกอบด้วย สายเชื่อม, สายยางและข้อต่อสำหรับต่อหัวเชื่อมเข้ากับเครื่องเชื่อม, แก๊ส ปกคลุมและน้ำระบายความร้อน, สำหรับหัวเชื่อม TIG ชนิดที่ควบคุมการเชื่อมด้วยมือ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air-Cooled)
2. ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water-Cooled)
หัวเชื่อม TIG มีหลายขนาดตั้งแต่น้ำหนัก 3 ออนซ์จนถึงจนขนาด 1 ปอนด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระแสเชื่อม, ลวดเชื่อมและ Nozzle ส่วนรูปร่างจะแตกต่างกันตามบริษัทผู้ผลิต แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีทั้งแบบ หัวเชื่อมเป็นมุมและหัวตรง โดยทั่วไปนิยมใช้หัวเอียง ซึ่งลวดเชื่อมจะเอียงทำมุม 120° กับมือจับ อาจจะเป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำหรืออากาศก็ได้ ส่วนแบบหัวตรงนั้นลวดเชื่อมจะอยู่ในแนวเดียวกับมือจับ และหัวเชื่อม บางอันจะมีสวิตซ์ไฟฟ้า เพื่อควบคุมการไหลของแก๊สปกคลุม โดยการบังคับด้วยมือ
หัวเชื่อมชนิด Air Cooled นั้น ที่จริงแล้วระบายความร้อนด้วยแก๊สปกคลุม สำหรับอากาศที่ระบาย ความร้อนออกจะเป็นอากาศที่อยู่โดยรอบหัวเชื่อม ซึ่งจะระบายความร้อนออกได้น้อยมาก หัวเชื่อมชนิดนี้น้ำหนักเบา, ขนาดกะทัดรัด และราคาถูกกว่าแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ส่วนมากใช้กับกระแสเชื่อมไม่เกิน 150 แอมป์ ซึ่งใช้ในการเชื่อมโลหะบางและ Duty Cycle ต่ำ ลวดเชื่อมทังสเตนที่ใช้กับหัวเชื่อมแบบ Air Cooled จะมีความร้อนมากกว่าลวดที่ใช้กับหัวเชื่อมชนิด Water Cooled โดยเฉพาะถ้าใช้ลวดทังสเตนบริสุทธิ์แล้วจะทำให้อนุภาคของทังสเตนจากลวดเชื่อมเติมลงในบ่อหลอมละลายของแนวเชื่อมได้เมื่อเชื่อมด้วยกระแสสูง
หัวเชื่อมชนิด Water Cooled (สายเชื่อมชนิดน้ำ) มีสายต่ออยู่ 3 เส้นคือ
1. สายเชื่อม เป็นสายเคเบิลทองแดงที่หุ้มด้วยยาง และยังทำหน้าที่เป็นท่อน้ำทิ้งของน้ำระบายความร้อน สายเคเบิลทองแดงจะมีขนาดเล็กกว่าสายเชื่อมธรรมดา เมื่อใช้กระแสไฟที่เท่ากัน
2. ทางเข้าของน้ำระบายความร้อน เป็นสายยางกลวงที่ต่อออกจาก Solenoid valve ของน้ำหล่อเย็นไปยังหัวเชื่อม
3. ทางเข้าของแก๊สปกคลุม เป็นสายยางกลวงที่ต่อจาก Solenoid valve แก๊สปกคลุมไปยังตัวเชื่อม
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อสายน้ำ WP-18 SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
ป้ายกำกับ:
เครื่องเชื่อม,
เครื่องเชื่อมอาร์กอน,
เครื่องเชื่อม TIG
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554
ความหมายของ แก๊สฮีเลียม (Heluim)
แก๊สฮีเลียม (Heluim) ซึ่งแก๊สฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อย เป็นผลพลอยได้จากกรรมวิธีผลิตแก๊สธรรมชาติมี Ionization poential 24.5 โวลต์ และมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าดีเลิศ จึงเป็นเหตุให้เปลวอาร์กที่ได้จากการใช้แก๊สฮีเลียมแผ่ขยายกว้าง แต่ความเข้มของการอาร์กลดลง การแผ่ขยายกว้างของเปลวอาร์กจะทำให้งานเชื่อมเกิด ความร้อนเป็นบริเวณกว้าง ในขณะเดียวกันศูนย์กลางของเปลวอาร์กจะเจาะทะลุลงไปยังส่วนล่างของแนวเชื่อม ทำให้แนวเชื่อมที่ได้จากการใช้แก๊สฮีเลียมซึมลึกกว่าการใช้แก๊สอาร์กอน แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ใช้แก๊สฮีเลียมคลุมจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระยะอาร์ก และความร้อนที่เกิดจากการอาร์กจะสูง เนื่องจากแก๊สฮีเลียมนั้นต้องใช้แรงเคลื่อนที่สูงจึงมีพลังงานมาก
แก๊สฮีเลียมมีน้ำหนักเบา คือประมาณ 1/7 เท่าของอากาศแต่จะรวมตัวกับอากาศได้ช้า ดังนั้นการใช้แก๊สฮีเลียมปกคลุมรอยเชื่อมต้องใช้ปริมาณมากกว่าแก๊สฮีเลียม 2-3 เท่า และมีโอกาสลอยตัวหนีได้ง่าย
จากเหตุผลดังกล่าว การใช้แก๊สฮีเลียมจึงเหมาะกับการเชื่อมด้วยวิธีอัตโนมัติ ที่ให้ความเร็วในการเชื่อมสูง, ไม่เกิดรูพรุนและการกัดแหว่งแนวเชื่อม รวมทั้งแนวเชื่อมที่ได้มีบริเวณ Heat-affected Zone แคบ
การพิจารณาเลือกใช้แก๊สปกคลุมสำหรับการเชื่อม TIG ให้เหมาะสมกับโลหะชนิดต่างๆ
แก๊สฮีเลียมมีน้ำหนักเบา คือประมาณ 1/7 เท่าของอากาศแต่จะรวมตัวกับอากาศได้ช้า ดังนั้นการใช้แก๊สฮีเลียมปกคลุมรอยเชื่อมต้องใช้ปริมาณมากกว่าแก๊สฮีเลียม 2-3 เท่า และมีโอกาสลอยตัวหนีได้ง่าย
จากเหตุผลดังกล่าว การใช้แก๊สฮีเลียมจึงเหมาะกับการเชื่อมด้วยวิธีอัตโนมัติ ที่ให้ความเร็วในการเชื่อมสูง, ไม่เกิดรูพรุนและการกัดแหว่งแนวเชื่อม รวมทั้งแนวเชื่อมที่ได้มีบริเวณ Heat-affected Zone แคบ
การพิจารณาเลือกใช้แก๊สปกคลุมสำหรับการเชื่อม TIG ให้เหมาะสมกับโลหะชนิดต่างๆ
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
ป้ายกำกับ:
แก๊สฮีเลียม,
เครื่องเชื่อมอาร์กอน
วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554
แก๊สอาร์กอน (Argon) คืออะไร มาทำความรู้จักกัน
แก๊สอาร์กอน เป็นแก๊สเฉื่อยที่ได้จากกรรมวิธีผลิตออกซิเจน ซึ่งจะมีอยู่ในอากาศประมาณ 0.9% จะเห็นว่าอาร์กอนปนอยู่ในอากาศน้อยมาก ดังนั้นการเตรียมอาร์กอนแต่ละลูกบาศก์ฟุตจะต้องใช้อากาศจำนวนมาก ราคาของแก๊สอาร์กอนจึงสูงกว่าออกซิเจนและไนโตรเจนมาก ในการเก็บแก๊สอาร์กอนอาจจะเก็บไว้ในสภาวะของแก๊สหรือของเหลวก็ได้ ถังสำหรับเก็บอาร์กอนเหลวจะต้องมีฉนวนที่ดีสามารถเก็บแก๊สอาร์กอนที่อุณหภูมิต่ำกว่า –184° ซ (-300° ฟ) เล็กน้อย
ข้อดีของการใช้แก๊สอาร์กอน
1. แก๊สอาร์กอน มี Ionization Potential 15.7 โวลต์ (หมายความว่าจะต้องใช้แรงเคลื่อน 15.7 โวลต์ จึงจะทำให้อะตอมของแก๊สอาร์กอนแตกตัวเป็นอิออนมาก) และยังเป็นตัวนำความร้อนที่เลวจึงทำให้แก๊สอาร์กอนเกิดความเข้มข้นสูงและเป็นบริเวณแคบ
2. แก๊สอาร์กอน จะทำให้การเริ่มต้นเชื่อมง่าย ให้อาร์กที่เปลวเรียบและสม่ำเสมอ ซึ่งเหมาะกับการเชื่อมโลหะบางที่ควบคุมด้วยมือ
3. แก๊สอาร์กอน ให้ปฏิกิริยาการทำความสะอาดงานเชื่อมที่ดี จึงเหมาะแก่การเชื่อมโลหะที่มีออกไซด์ที่ผิว เช่น อะลูมิเนียมและแมกนีเซียม
4. แก๊สอาร์กอน มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ และหนักกว่าอากาศประมาณ 1.4 เท่า หนักกว่าฮีเลียมประมาณ 10 เท่า จึงเป็นผลดีต่อการปกคลุมบริเวณอาร์ก ดังนั้นปริมาณการใช้แก๊สอาร์กอนปกคลุมบริเวณอาร์กจึงน้อยกว่าการใช้แก๊สฮีเลียม
5. เมื่อใช้แก๊สอาร์กอนสามารถควบคุมบ่อหลอมละลายได้ง่าย และเหมาะกับการเชื่อมท่าตั้งและ ท่าเหนือศีรษะ
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
แก๊สอาร์กอน เป็นแก๊สเฉื่อยที่ได้จากกรรมวิธีผลิตออกซิเจน ซึ่งจะมีอยู่ในอากาศประมาณ 0.9% จะเห็นว่าอาร์กอนปนอยู่ในอากาศน้อยมาก ดังนั้นการเตรียมอาร์กอนแต่ละลูกบาศก์ฟุตจะต้องใช้อากาศจำนวนมาก ราคาของแก๊สอาร์กอนจึงสูงกว่าออกซิเจนและไนโตรเจนมาก ในการเก็บแก๊สอาร์กอนอาจจะเก็บไว้ในสภาวะของแก๊สหรือของเหลวก็ได้ ถังสำหรับเก็บอาร์กอนเหลวจะต้องมีฉนวนที่ดีสามารถเก็บแก๊สอาร์กอนที่อุณหภูมิต่ำกว่า –184° ซ (-300° ฟ) เล็กน้อย
ข้อดีของการใช้แก๊สอาร์กอน
1. แก๊สอาร์กอน มี Ionization Potential 15.7 โวลต์ (หมายความว่าจะต้องใช้แรงเคลื่อน 15.7 โวลต์ จึงจะทำให้อะตอมของแก๊สอาร์กอนแตกตัวเป็นอิออนมาก) และยังเป็นตัวนำความร้อนที่เลวจึงทำให้แก๊สอาร์กอนเกิดความเข้มข้นสูงและเป็นบริเวณแคบ
2. แก๊สอาร์กอน จะทำให้การเริ่มต้นเชื่อมง่าย ให้อาร์กที่เปลวเรียบและสม่ำเสมอ ซึ่งเหมาะกับการเชื่อมโลหะบางที่ควบคุมด้วยมือ
3. แก๊สอาร์กอน ให้ปฏิกิริยาการทำความสะอาดงานเชื่อมที่ดี จึงเหมาะแก่การเชื่อมโลหะที่มีออกไซด์ที่ผิว เช่น อะลูมิเนียมและแมกนีเซียม
4. แก๊สอาร์กอน มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ และหนักกว่าอากาศประมาณ 1.4 เท่า หนักกว่าฮีเลียมประมาณ 10 เท่า จึงเป็นผลดีต่อการปกคลุมบริเวณอาร์ก ดังนั้นปริมาณการใช้แก๊สอาร์กอนปกคลุมบริเวณอาร์กจึงน้อยกว่าการใช้แก๊สฮีเลียม
5. เมื่อใช้แก๊สอาร์กอนสามารถควบคุมบ่อหลอมละลายได้ง่าย และเหมาะกับการเชื่อมท่าตั้งและ ท่าเหนือศีรษะ
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
ป้ายกำกับ:
แก๊สอาร์กอน,
เครื่องเชื่อมอาร์กอน,
TIG
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
เครื่องเชื่อม TIG หรือ เครื่องเชื่อมอาร์กอน มีกี่ประเภท
เครื่องเชื่อมTIG มีอยู่หลายแบบเช่น
1. Transformer-rectifiers เป็นเครื่องเชื่อมที่จ่ายไฟกระแสตรง
2. Transformer เป็นเครื่องเชื่อมที่จ่ายไฟกระแสสลับ
3. Power-driver generators มีทั้งชนิดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จะจ่ายเฉพาะไฟกระแสตรงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นชนิดเครื่องยนต์ขับ จะจ่ายได้ทั้งไฟกระแสตรงและไฟกระแสสลับ สำหรับเครื่องเชื่อมชนิด Trans-former และ rectifier นั้นมีข้อดีหลายอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับชนิด Power-Driven generators คือ ลงทุนต่ำ, ไม่มีเสียงดัง, ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ำ, ชิ้นส่วนของเครื่องไม่มีการเคลื่อนที่, ต้องการกำลังต่ำในขณะเดินเครื่อง (ไม่ทำการเชื่อม)
2. ระบบน้ำหล่อเย็น
ในการเชื่อม TIG ด้วยกระแสที่สูงกว่า 150 แอมป์ หรือเชื่อมแบบต่อเนื่อง จะทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นในหัวเชื่อมและสายเชื่อม และอาจจะเป็นเหตุให้อุปกรณ์ดังกล่าวชำรุดเสียหายได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องใช้น้ำระบาย ความร้อนสายและหัวเชื่อม แหล่งของน้ำหล่อเย็นอาจจะเป็นแบบถังหมุนเวียนที่มีมอเตอร์ขับหรือน้ำจากแหล่งภายนอก เช่น น้ำจากก๊อกก็ได้ โดยน้ำจะผ่าน Solenoid valve สำหรับควบคุมอีกทีหนึ่ง ซึ่งวาล์วของน้ำที่ Solenoid valve จะเปิดเมื่อทำการเชื่อมและวาล์วจะปิดเมื่อหยุดการเชื่อม
ข้อเสียของระบบหล่อเย็นแบบหมุนเวียน คือ
1. ใช้งานไม่สะดวก
2. ถ้าระบบระบายความร้อนขัดข้อง เครื่องเชื่อมจะใช้งานไม่ได้
3. ต้นทุนสูง
3. แก๊สปกคลุม (Shielding Gas)
เป็นแก๊สที่ใช้สำหรับปกคลุมแนวเชื่อมและบ่อหลอมละลาย เพื่อไม่ให้อากาศโดยรอบเข้าไปทำปฏิกิริยาในขณะเชื่อม ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้กันมานานแล้ว เช่น วิธีเชื่อมแบบออกซิอะเซทิลีนได้รับความร้อนจากการเผาไหม้ของแก๊สอะเซทิลีน ซึ่งเป็นแก๊สเชื้อเพลิงกับออกซิเจน จากการเผาไหม้นี้จะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนอกไซด์และไอน้ำ ซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมแนวเชื่อมที่กำลังหลอมละลาย ในการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แนวเชื่อมที่หลอมละลายและบริเวณอาร์ก จะถูกปกคลุมด้วยแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของฟลักซ์เช่นกันและยังทำให้การอาร์กสม่ำเสมอ
การเชื่อม TIGนั้นไม่มีเปลวไฟและฟลักซ์ที่หุ้มลวดเชื่อมเกิดเป็นแก๊สปกคลุมบริเวณอาร์ก ดังนั้นจำเป็นต้องใช้แก๊สปกคลุมจากแหล่งภายนอก โดยทั่วไปแก๊สปกคลุมที่ใช้ในการเชื่อม TIG ได้แก่ อาร์กอนและฮีเลียม
แก๊สปกคลุมที่กล่าวมาแล้วจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานและขบวนการเชื่อม ดังนั้นจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติและคุณลักษณะของแก๊สปกคลุมต่างๆ เสียก่อน
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
1. Transformer-rectifiers เป็นเครื่องเชื่อมที่จ่ายไฟกระแสตรง
2. Transformer เป็นเครื่องเชื่อมที่จ่ายไฟกระแสสลับ
3. Power-driver generators มีทั้งชนิดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จะจ่ายเฉพาะไฟกระแสตรงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นชนิดเครื่องยนต์ขับ จะจ่ายได้ทั้งไฟกระแสตรงและไฟกระแสสลับ สำหรับเครื่องเชื่อมชนิด Trans-former และ rectifier นั้นมีข้อดีหลายอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับชนิด Power-Driven generators คือ ลงทุนต่ำ, ไม่มีเสียงดัง, ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ำ, ชิ้นส่วนของเครื่องไม่มีการเคลื่อนที่, ต้องการกำลังต่ำในขณะเดินเครื่อง (ไม่ทำการเชื่อม)
2. ระบบน้ำหล่อเย็น
ในการเชื่อม TIG ด้วยกระแสที่สูงกว่า 150 แอมป์ หรือเชื่อมแบบต่อเนื่อง จะทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นในหัวเชื่อมและสายเชื่อม และอาจจะเป็นเหตุให้อุปกรณ์ดังกล่าวชำรุดเสียหายได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องใช้น้ำระบาย ความร้อนสายและหัวเชื่อม แหล่งของน้ำหล่อเย็นอาจจะเป็นแบบถังหมุนเวียนที่มีมอเตอร์ขับหรือน้ำจากแหล่งภายนอก เช่น น้ำจากก๊อกก็ได้ โดยน้ำจะผ่าน Solenoid valve สำหรับควบคุมอีกทีหนึ่ง ซึ่งวาล์วของน้ำที่ Solenoid valve จะเปิดเมื่อทำการเชื่อมและวาล์วจะปิดเมื่อหยุดการเชื่อม
ข้อเสียของระบบหล่อเย็นแบบหมุนเวียน คือ
1. ใช้งานไม่สะดวก
2. ถ้าระบบระบายความร้อนขัดข้อง เครื่องเชื่อมจะใช้งานไม่ได้
3. ต้นทุนสูง
3. แก๊สปกคลุม (Shielding Gas)
เป็นแก๊สที่ใช้สำหรับปกคลุมแนวเชื่อมและบ่อหลอมละลาย เพื่อไม่ให้อากาศโดยรอบเข้าไปทำปฏิกิริยาในขณะเชื่อม ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้กันมานานแล้ว เช่น วิธีเชื่อมแบบออกซิอะเซทิลีนได้รับความร้อนจากการเผาไหม้ของแก๊สอะเซทิลีน ซึ่งเป็นแก๊สเชื้อเพลิงกับออกซิเจน จากการเผาไหม้นี้จะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนอกไซด์และไอน้ำ ซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมแนวเชื่อมที่กำลังหลอมละลาย ในการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แนวเชื่อมที่หลอมละลายและบริเวณอาร์ก จะถูกปกคลุมด้วยแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของฟลักซ์เช่นกันและยังทำให้การอาร์กสม่ำเสมอ
การเชื่อม TIGนั้นไม่มีเปลวไฟและฟลักซ์ที่หุ้มลวดเชื่อมเกิดเป็นแก๊สปกคลุมบริเวณอาร์ก ดังนั้นจำเป็นต้องใช้แก๊สปกคลุมจากแหล่งภายนอก โดยทั่วไปแก๊สปกคลุมที่ใช้ในการเชื่อม TIG ได้แก่ อาร์กอนและฮีเลียม
แก๊สปกคลุมที่กล่าวมาแล้วจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานและขบวนการเชื่อม ดังนั้นจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติและคุณลักษณะของแก๊สปกคลุมต่างๆ เสียก่อน
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
ป้ายกำกับ:
เครื่องเชื่อม,
เครื่องเชื่อมอาร์กอน,
เครื่องเชื่อม TIG