TIG ย่อมาจาก TUNGSTEN INERT GAS สมาคมการเชื่อมของอเมริกา (American welding society หรือ AWS.) เรียกขบวนการเชื่อมนี้ว่า gas tungsten arc welding โดยใช้คำย่อว่า GTAW. ซึ่งก็คือวิธีการเชื่อมที่ใช้ลวด Tungsten เป็นตัวอาร์กและใช้แก๊สเฉื่อยเป็นเกราะปกคลุมแนวเชื่อม บางตำราอาจจะเรียกขบวนการนี้ว่า Heliarc หรือ Heliweld ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของขบวนการนี้โดยใช้แก๊สฮีเลียมปกคลุมแนวเชื่อม และยังเป็นชื่อทางการค้าของบริษัทผู้ผลิตเครื่องเชื่อม TIG ในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย
กรรมวิธีเชื่อม TIG เป็นกรรมวิธีการเชื่อมโลหะโดยใช้ชิ้นงานหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดขึ้นจากการอาร์กระหว่างลวดทังสเตน (Non-consumable Electrode) กับชิ้นงานเชื่อม โดยมีแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณเชื่อมและบ่อหลอมละลายเพื่อไม่ให้บรรยากาศภายนอกเข้ามาทำปฏิกิริยากับบริเวณดังกล่าว ความร้อนที่ได้จากการอาร์กสูงประมาณ 1942° ซ (35,000° ฟ) ในการเชื่อมนี้ลวดทังสเตนจะทำหน้าที่อาร์กเพื่อให้เกิดความร้อนเท่านั้น โดยจะไม่มีการเติมลงในแนวเชื่อม ถ้าต้องการเติมเนื้อเชื่อมต้องเติมลวดเชื่อมลงไป
การเชื่อม TIG เป็นกรรมวิธีเชื่อมที่สามารถเชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด ซึ่งรวมถึงโลหะผสม เช่น เหล็กกล้าคาร์บอน, เหล็กกล้าผสม, เหล็กกล้าไร้สนิม, โลหะทนความร้อน, อะลูมิเนียมผสม, ทองแดงและทองแดงผสม เป็นต้น สำหรับตะกั่วและสังกะสีไม่ควรเชื่อม TIG เนื่องจากวัสดุทั้งสองมีจุดหลอมต่ำ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่แตกต่างกันกับอุณหภูมิของเปลวอาร์กมาก และเนื้อวัสดุดังกล่าวหลอมละลายจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นไอ ส่วนโลหะที่มีจุดหลอมสูงสามารถเชื่อมด้วย TIG ได้ดี แต่ถ้าโลหะดังกล่าวเคลือบไว้ด้วยตะกั่ว, สังกะสี, ดีบุก, แคดเมียมหรือ อะลูมิเนียมจะต้องใช้วิธีเชื่อมที่พิเศษ แนวเชื่อมของโลหะที่เคลือบนี้จะมีคุณสมบัติเชิงกลต่ำ เนื่องจากเกิดการผสมของวัสดุดังกล่าวภายในแนวเชื่อม วิธีป้องกันควรกำจัดวัสดุเคลือบบนโลหะออกก่อนที่จะทำการเชื่อม และเมื่อเชื่อมเสร็จแล้วจึงซ่อมแซมใหม่
ข้อดี
1. ไม่ต้องใช้ฟลักซ์ ดังนั้นแนวเชื่อมที่ได้จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเคาะสแลก ซึ่งเป็นการตัดปัญหาในเรื่องสแลกฝังในแนวเชื่อม เพราะสแลกที่ฝังอยู่ในแนวเชื่อมจะทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรงและผุกร่อน ทั้งนี้โดยการใช้แก๊สเฉื่อยทำหน้าที่แทนฟลักซ์สำหรับปกคลุมแนวเชื่อม ไม่ให้ออกซิเจนและไนโตรเจนจากบรรยากาศมารวมตัวกับแนวเชื่อมหรือโลหะงานขณะหลอมละลาย
2. ส่วนผสมทางเคมีของแนวเชื่อมที่เกิดขึ้น จะมีส่วนผสมเหมือนกับลวดเชื่อม จะไม่มีการ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เนื่องจากแก๊สเฉื่อยที่ปกคลุมแนวเชื่อมจะไม่รวมตัวหรือทำปฏิกิริยากับโลหะ ดังนั้นแนวเชื่อมที่ได้จากกรรมวิธีเชื่อม TIG จึงแข็งแรง, ทนต่อการกัดกร่อนและเหนียวกว่าแนวเชื่อมที่ได้จากกรรมวิธีอื่นๆ
3. สามารถเชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม
4. สามารถมองเห็นแนวเชื่อมและบ่อหลอมละลายได้อย่างชัดเจน เนื่องจากการอาร์กที่เกิดขึ้นสะอาดไม่มีควันและสแลกปกคลุม
5. การเชื่อม TIG ให้ความร้อนสูงและเป็นบริเวณแคบ จึงไม่ทำให้ความร้อนในงานเชื่อมแผ่กระจายกว้างเกินไป งานจึงมีโอกาสบิดตัวน้อย
6. ไม่มีเม็ดโลหะ (spatter) เกิดขึ้นที่บริเวณแนวเชื่อม เนื่องจากการเชื่อม TIG ไม่มีการส่งผ่านน้ำโลหะลวดเชื่อมข้ามบริเวณอาร์กสู่บ่อหลอมละลาย
7. สามารถเชื่อมต่อเหล็กเหนียวที่มีความหนาแตกต่างกันได้
8. สามารถควบคุมแนวเชื่อมได้ง่าย
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับการเชื่อม TIG จะกำหนดตามลักษณะการใช้งาน และการออกแบบของบริษัทผู้ผลิต ซึ่งประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้
1. เครื่องเชื่อม (Power Source)
2. ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling System)
3. แก๊สปกคลุม (Shielding Gas)
4. หัวเชื่อมและอุปกรณ์ประกอบ (Welding Torch and Equipment)
ตัวอย่างวีดีโอ การเชื่อมอลูมิเนียม ด้วยเครื่องเชื่อมอาร์กอน SKY HORSE รุ่น TIG250AC/DC
คลิ๊กอ่านบทความเครื่องเชื่อมอาร์กอน
สอบถามปัญหา เครื่องเชื่อม หรือ ต้องการสั่งซื้อเครื่องเชื่อม SKY HORSE
กรุณาติดต่อ คุณวรเชษฎฐ์ : 081 488 6758
http://www.siamwelding.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น